วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

1.1 การแยกตัวประกอบ

1.1 การแยกตัวประกอบ

                 จำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวนแรกคือ 1 และจำนวนนับถัดไปจะเพิ่มขึ้นทีละ 1 เช่น 2, 3, 4, 5 เรื่อยๆ ไปไม่มีที่สิ้นสุด เรียกจำนวนเหล่านี้ว่า จำนวนนับ (Counting number) หรือ จำนวนธรรมชาติ (Natural number) หรือ จำนวนเต็มบวก (Positive number)

ตัวประกอบ

                 ตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ คือจำนวนนับที่หารจำนวนนับได้ลงตัวลองพิจารณาจากตารางต่อไปนี้


จากตารางสรุปได้ดังนี้

1,2,3,6  เป็นตัวประกอบของจำนวนนับ 6 เพราะ 1,2,3 และ 6 หาร 6 ลงตัว
1,2,4,8  เป็นตัวประกอบของจำนวนนับ 8 เพราะ 1,2,4 และ 8 หาร 8 ลงตัว
1,2,3,4,6,12  เป็นตัวประกอบของจำนวนนับ 12 เพราะ 1,2,3,4,6 และ 12 หาร 12 ลงตัว
1,3,5,15  เป็นตัวประกอบของจำนวนนับ 15 เพราะ 1,3,5 และ 15 หาร 15 ลงตัว

ตัวอย่างที่ 1

จงหาตัวประกอบของ 20

วิธีทำ  
            1. ตัวประกอบของ 20 คือ จำนวนเต็มบวกที่หาร 20 ลงตัว
            2. หาผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนให้ได้เท่ากับ 20

20 = 1 x 20
20 = 2 x 10
20 = 4 x 5

ดังนั้นตัวประกอบของ 20 คือ 1, 2, 4, 5,10 และ 20

ตัวอย่างที่ 2

จงหาตัวประกอบของ 14

วิธีทำ  
            1. ตัวประกอบของ 20 คือ จำนวนเต็มบวกที่หาร 20 ลงตัว
            2. หาผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนให้ได้เท่ากับ 20


 1 x 14 = 14
 2 x 7 = 14

ดังนั้นตัวประกอบของ 14 คือ 1, 2, 7, และ 14

จำนวนเฉพาะ (Prime number)

                    พิจารณาตารางต่อไปนี้



          จำนวนนับที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียงสองตัว คือ 1 และตัวเอง เรียกว่า จำนวนเฉพาะ

เช่น 2, 3, 5, 7, 11, 13 เป็นต้น

          การหาจำนวนเฉพาะ โดยทั่วไปมักใช้วิธีการของนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชื่อว่า เอราโตสเท

เนส (Eratosthenes) วิธีการนี้ทำโดยการตัดจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเฉพาะทิ้ง ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า ตะแกรง

ของเอราโตสเทเนส (The Sieve of Eratosthenes)

ตัวอย่าง

          จงหาจำนวนเฉพาะระหว่า 1 ถึง 20

          ขั้นที่ 1      1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะตัด 1 ทิ้ง

                            2 เป็นจำนวนเฉพาะวงเอาไว้

                            ตัดจำนวนที่มี 2 เป็นตัวประกอบทิ้ง

                    
           ขั้นที่ 2  3 เป็นจำนวนเฉพาะวงเอาไว้

                         ตัดจำนวนที่มี 3 เป็นตัวประกอบทิ้ง

                          
          ขั้นที่ 3 5 เป็นจำนวนเฉพาะวงเอาไว้

                       ตัดจำนวนที่มี 5 เป็นตัวประกอบทิ้ง



          ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยการวงกลมล้อมรอบจำนวนเฉพาะและตัดจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเฉพาะทิ้ง

ดังนั้น จำนวนเฉพาะระหว่าง 1 ถึง 20 คือ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19

         
ตัวประกอบเฉพาะ (Prime factor)

          พิจารณาตารางต่อไปนี้



          ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ เรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ เช่น 3 และ 5 เป็นตัวประกอบ

เฉพาะของ 15


การแยกตัวประกอบ

          การแยกตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ คือ ประโยคที่แสดงการเขียนจำนวนนั้นในรูปการคูณของ

ตัวประกอบเฉพาะ เช่น

         12 = 2 x 2 x 3

    15 = 3 x 5

ตัวอย่างการแยกตัวประกอบ

          การหาตัวคูณซึ่งเป็นตัวประกอบเฉพาะ ทำได้ 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 โดยการตั้งหาร (หารสั้น)

          จงแยกตัวประกอบของ 360 โดยการตั้งหาร

2)_360_

2)_180_

2)_90_

3)_45_

3)_15_

      5

ดังนั้น 360 = 2 x 2 x 2 x 3 x 3 x 5

วิธีที่ 2 โดยใช้แผนภาพ

          จงแยกตัวประกอบของ 136 โดยใช้แผนภาพ



ดังนั้น 136 = 2 x 2 x 2 x 17

หรือ

ดังนั้น 136 = 2 x 2 x 2 x 17




 



คณิตศาสตร์ ม.1 หลัก

ภาคเรียนที่ 1


[ บทที่ 1 ] สมบัติของจำนวนนับ

                 1.1 การแยกตัวประกอบ

                 1.2 ตัวหารร่วมมาก หรือ ห.ร.ม.

                 1.3 การนำ ห.ร.ม. มาประยุกต์ใช้

                 1.4 ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น.
                
                 1.5 การนำ ค.ร.น. มาประยุกต์ใช้

[ บทที่ 2 ] ระบบจำนวนเต็ม

                 2.1 จำนวนเต็ม

                 2.2 การบวกจำนวนเต็ม

                 2.3 การลบจำนวนเต็ม

                 2.4 การคูณจำนวนเต็ม

                 2.5 การหารจำนวนเต็ม

                 2.6 สมบัติของจำนวนเต็ม

[ บทที่ 3 ] เลขยกกำลัง

                 3.1 ความหมายของเลขยกกำลัง

             3.2 การดำเนินการของเลขยกกำลัง

             3.3 การนำไปใช้

[ บทที่ 4 ] พื้นฐานทางเรขาคณิต

                 4.1 จุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรง รังสีและมุม

             4.2 การสร้างพื้นฐาน

             4.3 การสร้างรูปเรขาคณิตอย่างง่าย 


ภาคเรียนที่ 2


[ บทที่ 5 ] ทศนิยมและเศษส่วน
   
    5.1 ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม
    
    5.2 การบวกและการลบทศนิยม

    5.3 การคูณและการหารทศนิยม

    5.4 เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน

    5.5 การบวกและการลบเศษส่วน

    5.6 การคูณและการหารเศษส่วน

    5.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน

[ บทที่ 6 ] การประมาณค่า
          
    6.1 ค่าประมาณ

    6.2 การปัดเศษ

    6.3 การประมาณค่า

[ บทที่ 7 ] คู่อันดับและกราฟ

    7.1 คู่อันดับและกราฟของคู่อันดับ

    7.2 กราฟและการนำไปใช้

[ บทที่ 8 ] สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

    8.1 แบบรูปและความสัมพันธ์

    8.2 คำตอบของสมการ

    8.3 การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

    8.4 โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

[ บทที่ 9 ] ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
     
    9.1 ภาพของรูปเรขาคณิตสามมิติ

    9.2 หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ

    9.3 ภาพที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง และ ด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติ

    9.4 รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์