วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1.2 ปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก


ปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก

           
พื้นที่ผิวและปริมาตรของพีระมิด

          พีระมิด คือ ทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลม ซึ่งไม่อยู่ในระนาบเดียวกับ

ฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลม

ลักษณะของพีระมิดตรง
    1.
หน้าของพีระมิดตรงเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
   
    2.
สันของพีระมิดตรงจะยาวเท่ากันทุกเส้น
    3.
ความสูงเอียงของพีระมิดตรง ด้านเท่า มุมเท่า จะยาวเท่ากันทุกเส้น
    4.
ปริมาตรของพีระมิด เป็นหนึ่งในสามของปริมาตร ปริซึมที่มีฐานเท่ากับพีระมิด และมีส่วนสูงเท่ากับ
พีระมิด


ตัวอย่างที่ 1
  พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร และความสูงของ


พีระมิดเป็น
12 เซนติเมตร จงหาความสูงเอียงของพีระมิดทั้งสองด้าน
 
 
ตัวอย่างที่ 2
   พีระมิดแห่งหนึ่งมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 6 เมตร สูงเอียง 5 เมตร และ

สูงตรง
4 เมตร จงหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของพีระมิด

วิธีทำ



ตัวอย่าง  จงหาปริมาตรและพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน


วิธีทำ  ปริมาตรของปริซึม  =  พื้นที่ฐาน ´ สูง
=  (ฐาน ´ สูง) ´ สูง
=  (7 ´ 3) ´ 12
=  252    ลูกบาศก์เซนติเมตร
พื้นที่ด้านข้าง  =  ความยาวรอบรูป ´ สูง
=  (7 + 5 + 7 + 5) ´ 12
=  288    ตารางเซนติเมตร
พื้นที่หัวท้าย  =  2 (7 ´ 3)
=  42      ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ผิวของปริซึมเท่ากับ 288 + 42  =  330    ตารางเซนติเมตร

ปริมาตรทรงกระบอก
   รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน เมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว หน้าตัดที่ได้จะเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกับฐานเสมอ เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า ทรงกระบอก




ปริมาตรของทรงกระบอก  =  พื้นที่ฐาน ´ สูง
      =  pr2 ´ h
      =  pr2h
เมื่อ  r  แทนรัศมีของวงกลมที่เป็นฐาน
        h  แทนความสูงของทรงกระบอก

สรุปลักษณะรูปคลี่ของทรงกระบอก ดังนี้


รูปคลี่ของทรงกระบอกว่าประกอบด้วย


         -  ส่วนที่เป็นวงกลมสองวง เรียกว่า พื้นที่หน้าตัดหรือพื้นที่ฐาน
-  ส่วนที่เป็นผิวข้าง เมื่อตัดออกมาจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
         ถ้าทรงกระบอกมีความสูง hหน่วย ฐานทรงกระบอกมีรัศมี rหน่วย จะได้เส้นรอบรูปวงกลมยาว 2pr หน่วย  

ดังนั้น พื้นที่ผิวข้างของทรงกระบอก  =  2prh ตารางหน่วย
    พื้นที่ฐานสองหน้า  =  2 ´ (pr2)
       =  2pr2 ตารางหน่วย
การหาพื้นที่ผิวของทรงกระบอกหาได้จากสูตร
 พื้นที่ผิวทรงกระบอก  =  พื้นที่ผิวโค้ง + พื้นที่ฐานสองหน้า
     =  2prh + 2pr2
     =  2pr(h + r)

ตัวอย่างที่ 1   แก้วน้ำทรงกระบอกใบหนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในได้ 7 เซนติเมตร ใส่น้ำได้ลึก 21 เซนติเมตร น้ำ   
แก้วพอดี จงหาความจุของแก้วน้ำใบนี้
วิธีทำ                   


ตัวอย่างที่ 2   ท่อนไม้ทรงกระบอกอันหนึ่ง หน้าตัดมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 14 เซนติเมตร ยาว 0.72 เมตร จงหาปริมาตรและพื้นที่ผิวของไม้ท่อนนี้
วิธีทำ       


ตัวอย่างที่ 4 ทรงกระบอกอันหนึ่งมีพื้นที่ผิวข้าง 91p  ตารางเซนติเมตร และพื้นที่ฐาน 10.5625p ตารางเซนติเมตร จงหาปริมาตรของทรงกระบอกนี้ (p » 3.14)
วิธีทำ                 



ตัวอย่างที่ 5 ถังทรงกระบอกใบหนึ่งมีปริมาตร 27,783 ลูกบาศก์เซนติเมตร พื้นที่ผิวข้าง 2,646 ตารางเซนติเมตร จงหาพื้นที่ก้นถังใบนี้
วิธีทำ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น