วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1.1 อัตราส่วน


อัตราส่วน

          อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อ ปริมาณ b เขียนแทนด้วย a:b  หรือ a เรียก a ว่า จำนวนแรก หรือ
                                                                                             b
จำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียก b  ว่าจำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน อัตราส่วน a

ต่อ b จะพิจารณาเฉพาะในกรณีที่ a และ b เป็นจำนวนบวกเท่านั้น

          ตำแหน่งของจำนวนในแต่ละอัตราส่วนมีความสำคัญ กล่าวคือ เมื่อ a b  อัตราส่วน a:b ไม่

ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับอัตราส่วน b:a เช่น อัตราส่วนของปริมาณผักเป็นกำต่อราคาเป็นบาทเป็น 3:10

ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับ 10:3 ทั้งนี้เพราะอัตราส่วน 3:10 หมายถึง ปริมาณผัก 3 กำ ราคา 10 บาท

ในขณะที่อัตราส่วน 10:3 หมายถึง ปริมาณผัก 10 กำ ราคา 3 บาท

         ให้นักเรียนพิจารณาข้อความต่อไปนี้

               1. อัตราครู 1 คน ต่อนักเรียน 20 คน

               2. ไข่ไก่ 10 ฟอง ราคา 22 บาท

               3. ค่าโดยสารรถประจำทางตลอดสายคนละ 3.50 บาท

               4. รถยนต์วิ่งด้วยอัตราความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

               5. อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 47.14 บาทต่อ 1 ยูโร

               6. นมสด 12 กระป๋อง ราคา 93 บาท

จากข้อความข้างต้นเราสามารถเขียนอัตราส่วนแสดงความสัมพันธ์ได้ ดังนี้
     
               1. อัตราส่วนของจำนวนครูต่อนักเรียน เป็น 1:20
             
               2. อัตราส่วนของไข่ไก่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10:22

               3. อัตราส่วนของจำนวนผู้โดยสารเป็นคนต่อค่าโดยสารเป็นบาท เป็น 1:3.50

               4. อัตราส่วนของระยะทางเป็นกิโลเมตรต่อเวลาที่ใช้เดินทางเป็นชั่วโมง เป็น 80:1

               5. อัตราส่วนของจำนวนเป็นเงินบาทต่อจำนวนเงินเป็นยูโร เป็น 47.14:1

               6. อัตราส่วนของจำนวนนมสดเป็นกระป๋องต่อราคาเป็นบาท เป็น 12:93

           จากการเขียนอัตราส่วนข้างต้น จะเห็นว่า อัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ

ที่มีหน่วยเดียวกันและมีความชัดเจนเป็นหน่วยของสิ่งของสิ่งใด เช่น น้ำหนัก หรือ ปริมาตร เราไม่นิยม

เขียนหน่วยกำกับไว้ ดังตัวอย่างเช่น

                อัตราส่วนของน้ำหนักหญ้าสดต่อน้ำหนักมูลไก่ เป็น 50:5 หรือ

                อัตราส่วนของปริมาณหญ้าสดต่อปริมาณมูลไก่โดยน้ำหนัก เป็น 50:5

          ถ้าเป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณที่มีหน่วยต่างกัน เราจะเขียนหน่วย

กำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10:22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น