วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1.4 ตัวคูณร่วมน้อยหรือ ค.ร.น.

ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. (Least common multiple : L.C.M.)


          จำนวนนับที่หารด้วยจำนวนนับที่กำหนดให้ลงตัว เรียกว่า พหุคูณ ของจำนวนนับที่กำหนดให้นั้น เช่น

          2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18,  ...                 เป็นพหุคูณของ  2

          3, 6, 9, 12, 15, 18,  ...                                 เป็นพหุคูณของ  3

จะเห็นว่า 6, 12, 18, 000 เป็นพหุคูณของทั้ง 2 และ 3 จึงเรียก 6, 12, 18,  ...  ว่า   พหุคูณร่วม ของ 2

และ 3 และเรียกพหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ 2 และ 3 ว่า ตัวคูณร่วมน้อย ซึ่งเขียนย่อ ๆ ว่า ค.ร.น. ของ

2 และ 3 ซึ่ง ค.ร.น. ของ 2 และ 3 คือ 6


          การหา ค.ร.น. ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปเป็นการหาพหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ

จำนวนนับเหล่านั้น เราจึงอาศัยการหาพหุคูณร่วมในการหา ค.ร.น. ของจำนวนนับ โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

               วิธีที่ 1 โดยการพิจารณาพหุคูณ

               วิธีที่ 2 โดยการแยกตัวประกอบ

               วิธีที่ 3 โดยการตั้งหาร


วิธีที่ 1 การหา ค.ร.น. ของจำนวนนับโดยการพิจารณาพหุคูณ

จงหา ค.ร.น. ของ 5 และ 7

          เนื่องจาก

          5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60, 65, 70, ... เป็นพหุคูณของ 5

          7, 14, 21, 28, 35, 42, 49, 56, 63, 70, ...                         เป็นพหุคูณของ 7

          จะเห็นว่า 35, 70, ... เป็นพหุคูณร่วมของ 5 และ 7

          35 เป็นพหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ 5 และ 7 ดังนั้น ค.ร.น. ของ 5 และ 7 คือ ... 35 ...

ข้อสังเกต 

          ตัวเลขจากโจทย์เป็นจำนานเฉพาะอยู่แล้ว สามารถที่จะนำมาคูณกันได้เลย


วิธีที่ 2 การหา ค.ร.น. ของจำนวนนับโดยการแยกตัวประกอบ

จงหา ค.ร.น. ของ 24 และ 36

แยกตัวประกอบของ 24 และ 36 ได้ดังนี้

                    24 = 2 x 2 x 2 x 3

                    36 = 2 x 2 x 3 x 3

จากการแยกตัวประกอบของ 24 และ 36 จะเห็นว่า พหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ 24 และ 36 คือ

                     2 x 2 x 3 x 2 x 3 = 72

ข้อสังเกต

  1. เลือกจำนวนเฉพาะหนึ่งจำนวนที่เป็นตัวประกอบร่วมจากการแยกตัวประกอบของทุกจำนวนที่ต้อง

การหา ค.ร.น. ซึ่งอาจเป็นตัวประกอบร่วมของทุกจำนวน หรือ เป็นตัวประกอบร่วมของอย่างน้อยสอง

จำนวนในแต่ละชุด

  2. ค.ร.น. ที่ได้ คือ ผลคูณของจำนวนเฉพาะที่เลือกได้จากข้อ 1 และจำนวนเฉพาะที่เหลืออยู่ทั้งหมด


วิธีที่ 3 การหา ค.ร.น. ของจำนวนนับโดยการตั้งหาร

          จงหา ค.ร.น. ของ 8 , 56 และ 140

          ขั้นที่ 1  นำ 2 ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของ 8 , 56 และ 140 ไปหาร 8 , 56 และ

140 ได้ดังนี้

                                        2 )  8   56   140

                                              4   28     70

          ขั้นที่ 2  นำ 2 ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของ 4 , 28 และ 70 ไปหาร 4 , 28 และ 70

ได้ดังนี้

                                        2 )  4    28    70

                                              2    14    35

          ขั้นที่ 3  นำ 2 ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของ 2 , 14 และ 35 ไปหาร 2 , 14 และ 35

ได้ดังนี้

                                        2 )  2    14    35

                                              1      7    35

          ขั้นที่ 4  นำ 7 ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของ 1 , 7 และ 35 ไปหาร 1 , 7 และ 35

ได้ดังนี้

                                        7 )  1      7    35

                                              1      1      5

ข้อสังเกต 

          1. ในแต่ละขั้นตอนของการหาร จำนวนที่นำไปหารต้องเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วม

ของอย่างน้อยสองจำนวนที่ต้องการหาร

          2. การหารจะยุติเมื่อไม่มีจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของสองจำนวนใด ๆ ที่ต้องการหาร

          3. ค.ร.น. ที่ได้ คือ ผลคูณของจำนวนเฉพาะที่นำไปหารในแต่ละขั้นตอนและจำนวนที่เหลือจาก

การหารทั้งหมด

ความสัมพันธ์ระหว่าง ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

          12 = 2 x 2 x 3

          36 = 2 x 2 x 3 x 3

ห.ร.ม. ของ 12 และ 36 คือ 2 x 2 x 3 หรือ 12

ค.ร.น. ของ 12 และ 36 คือ 2 x 2 x 3 x 3 หรือ 36

ผลคูณของ ห.ร.ม. กับ ค.ร.น. เท่ากับ 12 x 36 = 432

ผลคูณของสองจำนวนที่กำหนดให้จากโจทย์เท่ากับ 12 x 36 = 432

ดังนั้น ห.ร.ม. คูณด้วย ค.ร.น. เท่ากับผลคูณของสองจำนวนที่กำหนดให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น